แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับ สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย
ลักษณะงาน
แก้ไขให้ไฟฟ้าในสหกรณ์สามารถใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากที่ สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย เกิดแรงดันไฟตกซึ่งทางร้านได้มีการติดตั้ง Phase Protection Relay หรือ (Voltage Protection Relay)เพื่อป้องกัน แรงดันตก และแรงดันเกิน ไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย เช่น ตู้เย็น แอร์ และพัดลม อุปกรณ์จำพวกนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นโหลดชนิดมอเตอร์ถ้าหากเกิดแรงดันตกหรือเกินมอเตอร์อาจจะเผาเนื่องจากไม่สามารถขัดโหลดได้และเกิดความร้อนสะสมและขดลวดเผาในที่สุด
อุปกรณ์ป้องกนแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ (Voltage Protection Relay) เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบการปรับตั้งค่าการป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage) และการป้องกันแรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage) ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของโหลดในระบบ
ซึ้งจากปัญหาทางด้านแรงดันไฟฟ้าที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้นจะมีอุปกรณ์ป้องกันทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าติดตั้งอยู่ (Phase Protection Relay หรือ Voltage Relay) ในการตรวจจับความผิปกติของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายมาจากแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาสู่ระบบ และส่งสัญญาณมาสั่ง Trip Main Circuit Breaker ได้โดยอาศัยหน้าคอนแทคช่วย (Accessory Contact) ของอุปกรณ์ป้องกัน (Phase Protection Relay หรือ Voltage Protection Relay) ของอุปกรณ์ป้องกัน (Phase Protection Relay หรือ Voltage Protection Relay)ทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ช่วยปลดวงจร (Accessory Device) ที่ติดตั้งภายใน Main Circuit Breaker หรืออุปกรณ์ช่วยปลดวงจรเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำเกิน (Under Voltage Release) ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยปลดวงจร (Accessory Device) ที่ติดตั้งภายใน Main Circuit Breaker
(Phase Protection Relay หรือ Voltage Relay) และแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์
ที่ตู้เมนของสหกรณ์มทร.ศรีวิชัยใช้อยู่
สหกรณ์มทร.ศรีวิชัย
ทำการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเพื่อให้ระบบไฟฟ้าในร้านเป็นปกติ
หลักการแก้ไขปัญหาปรับตั้งค่าใหม่หลังจากนั้นไฟฟ้าก็กลับมาใช้ได้ตามปกติ
ในเวลาต่อมา
ระบบไฟฟ้าในสหกรณ์มทร.ศรีวิชัย ได้ดับลงอีกครั้ง ทางทีมงานได้เข้าไปตรวจสอบอีกครั้งและได้มีการชี้แจงให้เจ้าของร้านด้วย เนื่องจากแรงดันในระบบมีแรงดันที่ต่ำกว่า Phase Protection Relay ที่ได้ทำการปรับตั้งไว้แล้วก่อนหน้านี้ ไฟฟ้าจึงดับแต่เจ้าของร้านต้องการที่จะให้โหลดจำพวกเครื่องทำความเย็น (ตู้เย็น) สามารถใช้งานได้ ทางทีมงานได้แนะนำแล้วว่า ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวกนี้ใช้งานในสภาวะแรงดันต่ำหรือ ไฟตก จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอายุที่สั้นลง ซึ่งปัญหานี้เจ้าของร้านรับได้และบอกว่าขอแค่ตู้เย็นทำงานได้ก็พอ ทางทีมงานจึงต้องทำการต่อสายเมนเข้าระบบโดยตรงโดยไม่ได้ผ่าน Phase Protection Relay เพื่อตรวจจำความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าเลย
ต่อสายเมนเข้าระบบใช้งานได้ปกติ แต่แรงดันยังตกและต่ำอยู่
การต่อสายเมนแบบไม่ผ่าน แม็กเนติกและไม่ผ่านการตรวจสอบความผิดปกติของแรงดันโดย Phase Protection Relay
ในวันต่อมา
ที่สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย แรงดันไฟฟ้าในระบบปกติไม่มีการกระชากและตกของแรงดัน ทางเจ้าของร้านให้ทำการต่อวงจรตามเดิมที่เคยต่อตั้งแต่แรกคือ ต่อผ่านแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์และตรวจจับความผิดปกติของแรงดันด้วย Phase Protection Relay เหมือนเดิม
ช่างมอสทำการต่อสายเข้าระบบเดิม
ทำการปลอกสายและต่อสายเมน
เนื่องจากสายเมนที่ต่อเข้าแม็กเนติกเป็นสายเปลือยจำทำการใส่หางปลา
เพื่อความแน่คงทนถาวรให้กับลูกค้า
ย้ำหางปลาให้กับสายเมนขนาด 10 sq.mm
ทำการทดสอบระบบไฟฟ้าและตั้งค่า Phase Protection Relay 10 เปอร์เซ็น OV และ UV
เวลาหน่วง 1 นาที เป็นอันเสร็จสิ้น
สรุปงาน
ไฟฟ้าดับเนื่องจากแรงดันตกเกินที่ตั้งค่าของ Phase Protection Relay และได้ตั้งค่าให้ต่ำที่สุด แต่ Phase Protection Relay ตรวจจับว่าแรงดันต่ำเกินอยู่ดี
วิธีแก้ไขปัญหา
เนื่องจากทางลูกค้าต้องการใช้ไฟเพื่อให้อุปกรณ์พวกตู้เย็นทำงานและยอมรับได้ในปัญหาข้างต้นที่จะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าว จำได้ทำการต่อเมนตรงโดยไม่ผ่านแม็กเนติกและ Phase Protection Relay (ไม่ควารทำเป็นอย่างยิ่ง)
ขั้นตอนการตรวจสอบ
- ในการตรงสอบระบบไฟฟ้าที่มี Phase Protection Relay จะต้องมีมิเตอร์เพื่อวัดแรงดัน ว่าแรงดันนั้นเท่าไหร แรงดันสูงเกินไป หรือว่าแรงดันต่ำเกินไป
- ถ้าหาก Phase Protection Relay ยังไม่สั่ง แม็กเนติกให้ทำงาน ต้องตรวจสอบรีเลย์ว่าได้มีการเปลี่ยนหน้าสำผัสหรือไม่ ขั่ว 11 และ ขั้ว 14 ควรมีไฟผ่าน
- สาย N ที่เข้าสู่ Phase Protection Relay หลวมหรือไม่
- มีไฟเลี้ยง Phase Protection Relay หรือไม่
- ถ้าหากมีไฟที่ ขั่ว 11 และ ขั้ว 14 แล้วแม็กเนติกทำงาน ให้วัดแรงดันที่คอยล์ไฟเลี้ยงของแม็กเนติกคือขั่ว A1 A2 ว่ามีแรงดันพอที่จะเลี้ยงแม็กเนติกให้ทำงานหรือไม่
ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์
คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้- AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มี อินดัดทีฟน้อยๆ
- AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์
- AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็นมอเตอร์ กรงกระรอก
- AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging และ การกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก
แสดงความคิดเห็น