อัพเดทใหม่ :
บทความ

What is C-Bus?

       C-Bus คือ ระบบควบคุมการเปิด-ปิด ไฟแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในอาคารสานักงานหรือ โรงงานที่ต้องการความสะดวกในการใช้ งาน การควบคุมสั่งงาน การสั่งเปิด-ปิดอัตโนมัติและความต้องการในการจัดการด้านการใช้ พลังงาน (Energy Management)

                C-Bus มีความปลอดภัยสูงเพราะออกแบบแรงดันให้ อยู่ระหว่าง 15-36 VDC โดยใช้ สายสัญญาณ Unshield Twisted Pair (UTP, Cat.5) ซึ่งเป็นสายตามมาตรฐานของระบบ LAN ที่ใช้ เป็นพาหะในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ทกตัวของระบบ

               C-Bus สามารถที่จะควบคุมสั่งงานได้ หลายทาง เช่น แผงสวิทช์รวม (Central Selector Switch) สวิทช์ตามจุด (Local Switch) จอสั่งงานแบบสัมผัส (Touch Screen) หรือ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) ก็ได้

               C-Bus สามารถที่จะสั่งงานได้ หลายรูปแบบ (Intelligent Control) เช่น ตั้งตารางเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ (Time Schedule)

               การเปิด-ปิดเป็นกลุ่มพื้นที่ (Group Area Control) การเปิด-ปิดเป็นรูปแบบ หรือ บรรยากาศ (Pattern or Scene Control) หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ เพื่อมาสั่งงาน เช่น การควบคุมการ เปิดปิด โดยอาศัยการตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Detector หรือ PIR Occupancy Sensor), การเปิด ปิด โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มของแสง (Light Level Sensor) เป็นตัวควบคุม และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย


แบบแสดงดังแผนผังพื้นฐานของระบบ







รูปที่ 1.1 C-Bus - Basic Wiring Diagram





รูปที่ 1.2 C-Bus - Basic Wiring Diagram



ส่วนประกอบหลักของระบบ

C-Bus แบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ ดังนี้

1. Input Unit :

เป็นส่วนที่ทาหน้าที่ในการส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ส่วน Output Unit เพื่อสั่งให้ Relay หรือ Dimmer ทางาน โดยส่วน Input Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

Key Input Unit (Switch)

Light Level Sensor (Photo Sensor)

Passive Infra-red Occupancy Sensor (Motion Detector)

Auxiliary Input Unit

Touch Screen

2. Output Unit :

เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับสัญญาณที่สงมาจากส่วน Input Unit แล้วทางานตามที่ได้รับคาสั่ง โดยส่วน Output Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

Relay Unit

Dimmer Unit

Analogue Output, 0-10 VDC.

3. System Support Unit :

ทาหน้าที่เป็นส่วนที่สนับสนุนการทางานของระบบ โดยส่วน System Support Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

PC Interface Unit

Power Supply Unit

Network Bridge

4. C-Bus Software :

เป็นส่วนของโปรแกรมเพื่อตั้งค่ารหัสต่างๆ กำหนดหน้าที่การทางานและสำหรับควบคุมสั่งงาน

Installation Software

Schedule Plus Software




1) Relay Unit (DIN Rail) Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
On = เมื่อหน้าสัมผัส Close (ไฟเปิด)






เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ On-Off Load สามารถนำกระแสไฟเข้าได้ 10A

(Max) โดย 1 Unit จะประกอบด้วย 4CH x10A.,8CH x 10A.และ 12 CH x

10A. Channel Relay สามารถควบคุมวงจรไฟฟ้าแบบอิสระ โดยที่ตัวจะมี

สวิทซ์ By Pass ในกรณีฉุกเฉินสาหรับเปิดปิดไฟได้ อิสระในแต่ละวงจรและมี

หลอดไฟ LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ ดังนี้

a) หลอดไฟ LED (Unit)

On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)

b) หลอดไฟ LED (C-Bus)

On = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)

Off = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)

Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ)

c) ปุ่มสวิทซ์ By Pass

On = เมื่อหน้าสัมผัส Close (ไฟเปิด)

Off = เมื่อหน้าสัมผัส Open (ไฟปิด)








2) Key Input Unit (Standard Series)

เป็นสวิทซ์อิเล็กทรอนิกส์ (สวิทซ์เฉพาะทางของ C-Bus) เพื่อ

ใช้ สั่งงานควบคุมอุปกรณ์ทางด้าน Output Unit ในการเปิด – ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้า

บนปุ่มกดของสวิทซ์จะมีหลอด LED สีแดง ที่ใช้ บอกสถานะของการ เปิด- ปิด

และยังสามารถโปรแกรมให้ สวิทซ์นี้สั่งงานได้ หลายรูปแบบ เช่น เป็นสวิทซ์

เปิด-ปิด ธรรมดา, หรี่ ไฟ และเป็นสวิทซ์ตงเวลาได้ สวิทซ์ C-Bus จะมีให้ เลือก

หลายรุ่น เช่น 1 Gang Key Input (5031NL), 2 Gang Key Input (5032NL),

4 Gang Key Input (5034NL), 24 Gang Key Input (5024S164/8L) จนถึง

72 Gang Key Input

3) Power Supply / รุ่น : 5500PS

มีหน้าที่เป็นตัวจ่ายไฟเลี้ยง 15-36 VDC ให้ กับอุปกรณ์ทางด้าน Input

Unit โดย Power Supply หนึ่งตัวสามารถจ่ายไฟได้ 350mA และมีหลอดไฟ

LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ ดังนี้

a) หลอดไฟ LED (Unit)

a. On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)

b. Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)

b) หลอดไฟ LED (C-Bus)



On = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)



Off = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)



Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ)

6) PC Interface / รุ่น : 5500PC

มีหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ของระบบ C-Bus กับคอมพิวเตอร์ โดย

ผ่านพอร์ต RS-232 และมีหลอดไฟ LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ


ดังนี้

a) พอร์ต RS-232 สำหรับปลักเพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

b) หลอดไฟ LED (Unit)

-On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)

-Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)

c) หลอดไฟ LED (C-Bus)

On = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)

Off = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)

Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ

สามารถกำหนด Soft Key ได้ ถึง 100 Key เพื่อใช้ ในการสั่งงาน

การกดปุ่มบนหน้าจอของ C-Touch มีรูปแบบการทางานดังนี้

- สั่งให้ เปิด – ปิด หรือหรี่ ไฟ

- สั่งงานในลักษณะของ Scene Control

- มีเสียงแจ้งเวลาสัมผัสบนหน้าจอ



















ระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติ C-Bus –Lighting Control System (Energy Management System) (ตอนที่ 1)


What is C-Bus?  

         C-Bus คือ ระบบควบคุมการเปิด-ปิด ไฟแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในอาคารสานักงาน
หรือ โรงงานที่ต้องการความสะดวกในการใช้ งาน การควบคุมสั่งงาน การสั่งเปิด-ปิดอัตโนมัติและความต้องการในการจัดการด้าน
การใช้ พลังงาน (Energy Management)
               C-Bus มีความปลอดภัยสูงเพราะออกแบบแรงดันให้ อยู่ระหว่าง 15-36 VDC โดยใช้ สายสัญญาณ Unshield Twisted
Pair (UTP, Cat.5) ซึ่งเป็นสายตามมาตรฐานของระบบ LAN ที่ใช้ เป็นพาหะในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ทกตัวของระบบ
               C-Bus สามารถที่จะควบคุมสั่งงานได้ หลายทาง เช่น แผงสวิทช์รวม (Central Selector Switch) สวิทช์ตามจุด (Local
Switch) จอสั่งงานแบบสัมผัส (Touch Screen) หรือ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) ก็ได้
               C-Bus สามารถที่จะสั่งงานได้ หลายรูปแบบ (Intelligent Control) เช่น ตั้งตารางเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ (Time Schedule)
 การเปิด-ปิดเป็นกลุ่มพื้นที่ (Group Area Control) การเปิด-ปิดเป็นรูปแบบ หรือ บรรยากาศ (Pattern or Scene Control) หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ เพื่อมาสั่งงาน เช่น การควบคุมการ เปิดปิด โดยอาศัยการตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Detector หรือ PIR Occupancy Sensor), การเปิด ปิด โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงระดับความเข้มของแสง (Light Level Sensor) เป็นตัวควบคุม และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย

 แบบแสดงดังแผนผังพื้นฐานของระบบ


รูปที่ 1.1 C-Bus - Basic Wiring Diagram

รูปที่ 1.2 C-Bus - Basic Wiring Diagram

ส่วนประกอบหลักของระบบ
       C-Bus แบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ ดังนี้
1. Input Unit :
       เป็นส่วนที่ทาหน้าที่ในการส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ส่วน Output Unit เพื่อสั่งให้ Relay หรือ Dimmer ทางาน โดยส่วน Input Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
                Key Input Unit (Switch)
               Light Level Sensor (Photo Sensor)
               Passive Infra-red Occupancy Sensor (Motion Detector)
               Auxiliary Input Unit
               Touch Screen
2. Output Unit :
      เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับสัญญาณที่สงมาจากส่วน Input Unit แล้วทางานตามที่ได้รับคาสั่ง โดยส่วน Output Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
               Relay Unit
               Dimmer Unit
               Analogue Output, 0-10 VDC.
3. System Support Unit :
      ทาหน้าที่เป็นส่วนที่สนับสนุนการทางานของระบบ โดยส่วน System Support Unit จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
               PC Interface Unit
               Power Supply Unit
               Network Bridge
4. C-Bus Software :
      เป็นส่วนของโปรแกรมเพื่อตั้งค่ารหัสต่างๆ กำหนดหน้าที่การทางานและสำหรับควบคุมสั่งงาน 
               Installation Software 
               Schedule Plus Software

                                                                    1) Relay Unit (DIN Rail)         Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
         On = เมื่อหน้าสัมผัส Close (ไฟเปิด)



       เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ On-Off Load สามารถนำกระแสไฟเข้าได้ 10A
(Max) โดย 1 Unit จะประกอบด้วย 4CH x10A.,8CH x 10A.และ 12 CH x
10A. Channel Relay สามารถควบคุมวงจรไฟฟ้าแบบอิสระ โดยที่ตัวจะมี
สวิทซ์ By Pass ในกรณีฉุกเฉินสาหรับเปิดปิดไฟได้ อิสระในแต่ละวงจรและมี
หลอดไฟ LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ ดังนี้
a) หลอดไฟ LED (Unit)
            On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
 b) หลอดไฟ LED (C-Bus)
            On     = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
           Off    = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
           Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ)
c) ปุ่มสวิทซ์ By Pass
          On = เมื่อหน้าสัมผัส Close (ไฟเปิด)
          Off = เมื่อหน้าสัมผัส Open (ไฟปิด)

     


2) Key Input Unit (Standard Series)
               เป็นสวิทซ์อิเล็กทรอนิกส์ (สวิทซ์เฉพาะทางของ C-Bus) เพื่อ
ใช้ สั่งงานควบคุมอุปกรณ์ทางด้าน Output Unit ในการเปิด ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้า
บนปุ่มกดของสวิทซ์จะมีหลอด LED สีแดง ที่ใช้ บอกสถานะของการ เปิด- ปิด
และยังสามารถโปรแกรมให้ สวิทซ์นี้สั่งงานได้ หลายรูปแบบ เช่น เป็นสวิทซ์
เปิด-ปิด ธรรมดา, หรี่ ไฟ และเป็นสวิทซ์ตงเวลาได้ สวิทซ์ C-Bus จะมีให้ เลือก
หลายรุ่น เช่น 1 Gang Key Input (5031NL), 2 Gang Key Input (5032NL),
4 Gang Key Input (5034NL), 24 Gang Key Input (5024S164/8L) จนถึง
72 Gang Key Input
3) Power Supply / รุ่น  : 5500PS
       มีหน้าที่เป็นตัวจ่ายไฟเลี้ยง 15-36 VDC ให้ กับอุปกรณ์ทางด้าน Input
Unit โดย Power Supply หนึ่งตัวสามารถจ่ายไฟได้ 350mA และมีหลอดไฟ
LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ ดังนี้
a) หลอดไฟ LED (Unit)
       a. On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
       b. Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
b) หลอดไฟ LED (C-Bus)
     •
       On = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
     •
       Off = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
     •
       Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ)
6) PC Interface / รุ่น : 5500PC
มีหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ของระบบ C-Bus กับคอมพิวเตอร์ โดย
ผ่านพอร์ต RS-232 และมีหลอดไฟ LED แสดงดังสถานะของการทางานต่างๆ

ดังนี้
a) พอร์ต RS-232 สำหรับปลักเพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
b) หลอดไฟ LED (Unit)
-On = ปกติ (มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
-Off = ผิดปกติ (ไม่มีไฟ 220VAC จ่ายเข้ามา)
c) หลอดไฟ LED (C-Bus)
On = ปกติ (มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
Off = ผิดปกติ (ไม่มีสัญญาณจาก C-Bus Network มา)
Flash = ผิดปกติ (Power Supply ในระบบมีไม่เพียงพอ
สามารถกำหนด Soft Key ได้ ถึง 100 Key เพื่อใช้ ในการสั่งงาน
การกดปุ่มบนหน้าจอของ C-Touch มีรูปแบบการทางานดังนี้
                                                               - สั่งให้ เปิด ปิด หรือหรี่ ไฟ
      - สั่งงานในลักษณะของ Scene Control
      - มีเสียงแจ้งเวลาสัมผัสบนหน้าจอ










โมดิฟาย เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ให้เป็นฟลูเวฟ (Full Wave Battery Charger)

เครื่องชาร์จทั่วไปตามท้องตลาดเป็นเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่เป็นรูปแบบครึ่งคลื่น Half Wave
ซึ่งได้กำลังและกระแสในการชาร์จแบตเตอรี่น้อยไม่เต็มประสิทธิภาพของเครื่อง ในตอนนี้จะทำการ
โมดิฟายเครื่องชาร์จแบบเตอรี่ธรรมดาจากรูปแบบครึ่งคลื่น Half Wave ให้เป็น แบบเต็มคลื่น Full Wave จะได้กระแสชาร์จที่เต็มประสิทธิภาพของเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ด้วย


นี้เครื่องวงจรพื้นฐานและลักษณะรูปคลื่นของเครื่องชาร์จทั่วๆไปตามท้องตลาด
และนี้คือวงจร และลักษณะรูปคลื่นคลื่น Full Wave ที่จะทำการโมดิฟายในหัวข้อนี้


เริ่มจากอันดับแรก 
ถอดฝาครอบเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ออกก่อน


ลำดับต่อไป
หาจุด ขาออกที่ไปยังแบตเตอรี่เพื่อที่จะทำการโมดิฟายโดยการใส่ ไดโอดบริจ สังเกตจากจุดที่ต่อระหว่างไดโอดเดิมและสายขั่วจากหัวคีบแบตเตอรี่ทำ


ทำการบัดกรีเอาสายที่ออกไปยังแบตเตอรี่ขั่วลบออก 


ลักษณะของขั่วของไดโอดบริจ


ใส่สายจากสวิตซ์ที่ทำการเอาออกจากขั่วลบแล้วบัดกรีที่ขั่ว AC ของ ไดโอดบริด
เอาสายจากขั่วบวกของไอโอดอันเดิมของเครื่องชาร์จมาบัดกรีขั่ว AC อีกข้างของไดโอดบริดเช่นกัน


จัดวางอุปกรณ์ให้เรียบร้อย


ทำการประกอบ


เป็นอันเสร็จพิธีพร้อมทดสอบ


ทำการทดสอบ


แรงดันก่อนทำ (เดิมๆ) ระบบครึ่งคลื่น Half Wave


ต่ำแน่งสวิตซ์อยู่ที่ 12V แรงดันที่อ่านได้ 5.1V 

ต่ำแน่งสวิตซ์อยู่ที่ 6V แรงดันที่อ่านได้ 2.7V

แรงดันหลังทำ ระบบเต็มคลื่น Full Wave


ต่ำแน่งสวิตซ์อยู่ที่ 12V แรงดันที่อ่านได้ 12.8V


 ต่ำแน่งสวิตซ์อยู่ที่ 6V แรงดันที่อ่านได้ 8V

เห็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เพียงแค่นี้เราก็ได้จะได้เครื่องชาร์จแบตแบบเต็มคลื่น Full Wave ได้ใช้แบบเต็มประสิทธิภาพพร้อมทำเองกันได้ง่ายๆ แล้ว




เฉลย

1. ถ้านำสัญญาณแรงดัน 100sinωt จ่ายให้กับความต้านทาน 5 โอห์มจะมีกระแสเท่าไร?


                         Vrms  =  100/√2
                                   =  70.7 

                                I  =  70.7 / 5 
                                   =  14.14 A

2. ให้เขียนเวกเตอร์ไดอะแกรมของ VS, I, VR, VX และหาค่ากระแส I ของวงจรในระบบ 50 Hz?







แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับ สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย


แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับ สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย

ลักษณะงาน

          แก้ไขให้ไฟฟ้าในสหกรณ์สามารถใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากที่ สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย เกิดแรงดันไฟตกซึ่งทางร้านได้มีการติดตั้ง Phase Protection Relay หรือ (Voltage Protection Relay)เพื่อป้องกัน แรงดันตก และแรงดันเกิน ไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความเสียหาย เช่น ตู้เย็น แอร์ และพัดลม อุปกรณ์จำพวกนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นโหลดชนิดมอเตอร์ถ้าหากเกิดแรงดันตกหรือเกินมอเตอร์อาจจะเผาเนื่องจากไม่สามารถขัดโหลดได้และเกิดความร้อนสะสมและขดลวดเผาในที่สุด
         อุปกรณ์ป้องกนแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ  (Voltage Protection Relay) เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบการปรับตั้งค่าการป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage) และการป้องกันแรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage) ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของโหลดในระบบ
           ซึ้งจากปัญหาทางด้านแรงดันไฟฟ้าที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้นจะมีอุปกรณ์ป้องกันทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าติดตั้งอยู่ (Phase Protection Relay หรือ Voltage Relay) ในการตรวจจับความผิปกติของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายมาจากแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาสู่ระบบ และส่งสัญญาณมาสั่ง Trip Main Circuit Breaker ได้โดยอาศัยหน้าคอนแทคช่วย (Accessory Contact) ของอุปกรณ์ป้องกัน (Phase Protection Relay หรือ Voltage Protection Relay) ของอุปกรณ์ป้องกัน (Phase Protection Relay หรือ Voltage Protection Relay)ทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ช่วยปลดวงจร (Accessory Device) ที่ติดตั้งภายใน Main Circuit Breaker  หรืออุปกรณ์ช่วยปลดวงจรเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำเกิน (Under Voltage Release) ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยปลดวงจร (Accessory Device) ที่ติดตั้งภายใน Main Circuit Breaker


(Phase Protection Relay หรือ Voltage Relay)  และแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์
ที่ตู้เมนของสหกรณ์มทร.ศรีวิชัยใช้อยู่



สหกรณ์มทร.ศรีวิชัย


ทำการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเพื่อให้ระบบไฟฟ้าในร้านเป็นปกติ
หลักการแก้ไขปัญหาปรับตั้งค่าใหม่หลังจากนั้นไฟฟ้าก็กลับมาใช้ได้ตามปกติ

ในเวลาต่อมา

          ระบบไฟฟ้าในสหกรณ์มทร.ศรีวิชัย ได้ดับลงอีกครั้ง ทางทีมงานได้เข้าไปตรวจสอบอีกครั้งและได้มีการชี้แจงให้เจ้าของร้านด้วย เนื่องจากแรงดันในระบบมีแรงดันที่ต่ำกว่า Phase Protection Relay ที่ได้ทำการปรับตั้งไว้แล้วก่อนหน้านี้ ไฟฟ้าจึงดับแต่เจ้าของร้านต้องการที่จะให้โหลดจำพวกเครื่องทำความเย็น (ตู้เย็น) สามารถใช้งานได้ ทางทีมงานได้แนะนำแล้วว่า ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวกนี้ใช้งานในสภาวะแรงดันต่ำหรือ ไฟตก จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอายุที่สั้นลง ซึ่งปัญหานี้เจ้าของร้านรับได้และบอกว่าขอแค่ตู้เย็นทำงานได้ก็พอ ทางทีมงานจึงต้องทำการต่อสายเมนเข้าระบบโดยตรงโดยไม่ได้ผ่าน Phase Protection Relay เพื่อตรวจจำความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าเลย


ต่อสายเมนเข้าระบบใช้งานได้ปกติ แต่แรงดันยังตกและต่ำอยู่


การต่อสายเมนแบบไม่ผ่าน แม็กเนติกและไม่ผ่านการตรวจสอบความผิดปกติของแรงดันโดย Phase Protection Relay


ในวันต่อมา

ที่สหกรณ์ มทร.ศรีวิชัย แรงดันไฟฟ้าในระบบปกติไม่มีการกระชากและตกของแรงดัน ทางเจ้าของร้านให้ทำการต่อวงจรตามเดิมที่เคยต่อตั้งแต่แรกคือ ต่อผ่านแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์และตรวจจับความผิดปกติของแรงดันด้วย Phase Protection Relay เหมือนเดิม


ช่างมอสทำการต่อสายเข้าระบบเดิม 


ทำการปลอกสายและต่อสายเมน


เนื่องจากสายเมนที่ต่อเข้าแม็กเนติกเป็นสายเปลือยจำทำการใส่หางปลา
เพื่อความแน่คงทนถาวรให้กับลูกค้า


ย้ำหางปลาให้กับสายเมนขนาด 10 sq.mm 


ทำการทดสอบระบบไฟฟ้าและตั้งค่า Phase Protection Relay 10 เปอร์เซ็น OV และ UV
เวลาหน่วง 1 นาที เป็นอันเสร็จสิ้น


สรุปงาน

ไฟฟ้าดับเนื่องจากแรงดันตกเกินที่ตั้งค่าของ Phase Protection Relay และได้ตั้งค่าให้ต่ำที่สุด แต่ Phase Protection Relay ตรวจจับว่าแรงดันต่ำเกินอยู่ดี

วิธีแก้ไขปัญหา

เนื่องจากทางลูกค้าต้องการใช้ไฟเพื่อให้อุปกรณ์พวกตู้เย็นทำงานและยอมรับได้ในปัญหาข้างต้นที่จะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าว จำได้ทำการต่อเมนตรงโดยไม่ผ่านแม็กเนติกและ Phase Protection Relay (ไม่ควารทำเป็นอย่างยิ่ง)

ขั้นตอนการตรวจสอบ
  • ในการตรงสอบระบบไฟฟ้าที่มี Phase Protection Relay จะต้องมีมิเตอร์เพื่อวัดแรงดัน ว่าแรงดันนั้นเท่าไหร แรงดันสูงเกินไป หรือว่าแรงดันต่ำเกินไป 
  • ถ้าหาก Phase Protection Relay ยังไม่สั่ง แม็กเนติกให้ทำงาน ต้องตรวจสอบรีเลย์ว่าได้มีการเปลี่ยนหน้าสำผัสหรือไม่ ขั่ว 11 และ ขั้ว 14 ควรมีไฟผ่าน 
  • สาย N ที่เข้าสู่  Phase Protection Relay หลวมหรือไม่
  • มีไฟเลี้ยง Phase Protection Relay หรือไม่
  • ถ้าหากมีไฟที่ ขั่ว 11 และ ขั้ว 14  แล้วแม็กเนติกทำงาน ให้วัดแรงดันที่คอยล์ไฟเลี้ยงของแม็กเนติกคือขั่ว A1 A2 ว่ามีแรงดันพอที่จะเลี้ยงแม็กเนติกให้ทำงานหรือไม่
เพิ่มเติม


ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ 

     คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้              
  • AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มี              อินดัดทีฟน้อยๆ             
  • AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับโหลหดที่เป็นสปริงมอเตอร์           
  • AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็นมอเตอร์              กรงกระรอก              
  • AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ที่เหมาะสำหรับการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ วงจร jogging และ            การกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก     














ความรู้พื้นฐานที่ 1 สำหรับวิศวกรจบใหม่

ความรู้พื้นฐาน 1


พื้นฐานดังกล่าวดูเหมือนไม่ยาก ให้ลองทำดูก่อน ค่อยอ่านเฉลย เพื่อได้ปรับปรุงฐานความรู้ของเราให้สูงขึ้น

  1.  ถ้านำสัญญาณแรงดัน 100sinωt จ่ายให้กับความต้านทาน 5 โอห์มจะมีกระแสเท่าไร?
  2. ให้เขียนเวกเตอร์ไดอะแกรมของ VS, I, VR, VX และหาค่ากระแส I ของวงจรในระบบ 50 Hz?


     เฉลย

งานย้ายสายเมนบ้านลุงจิต

ย้ายสายเมนบ้านลุงจิต


ลัษณะงาน
ย้ายสายเมนเดิมขึ้นเสาใหม่







สำรวจพื้นที่




สำรวจพื้นที่




สำรวจพื้นที่




สำรวจพื้นที่









แบบแปลนสายเมนเดิม


แบบแปลนจุดที่ทำการย้ายสายเมน


และเช้าของวันที่ 13 

    ทีมงานได้ช่วยกันขนอุปกรณ์ประกอบการบย้ายสายเมนในครั้งนี้ เมื่อวางแผนกันเสร็จก็ลงมือทำกันเลย



ก่อนอื่นต้องทำการตัดสายเมนจากมิเตอร์ซ่ะก่อน เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฎิบัติงานและความสะดวก





ทีมงานพร้อมเสมอ เมื่อถึงหน้างานแล้วก็จัดการ รื้อสายเก่าลงจากเสาต้นเดิมทันที
ด้วยความเชียวชาญรื่อเสร็จภายในไม่กี่นาที


วัดระยะพร้อมตัดสายเมนเพื่อลอดใต้หลังคาบ้านเนื่องเจ้าของบ้านเปลี่ยนแผนในการวางสายเมนใหม่
จำทำให้ทีมงานมีความล่าช้าผิดจากแผนเดิมที่วางไว้



ชุดทีมงานเซียนเจาะเสา ส่งตรงจากมาเก๊า(ทะลวงมันให้ทะลุ อย่างไม่หยุดยั้ง)



หลังจากที่ทีมงานรื้อสายเมนเก่าเสร็จ ก็ไม่ละเว้นการดัดสายเมนและเช็ดสายให้สะอาด
(ขยันจริง!!)




จากแผ่นเก่าที่ย้ายสายเมนมาขึ้นเสาต้นใหม่ ต้องเปลี่ยนแผ่นคือต้องเพิ่มเสาอีก 1 ต้น 
เพื่อไม่ให้สายเมนพาดผ่านแปลงการเกษตร



หลังจากที่เซียนจากมาเก๊าเจาะเสาเสร็จ ก็ไม่ละเว้นที่จะขุดหลุมเสา 
เงื่อท่วมตัวกันเลยทีเดียว


เมื่อขดหลุมเสาเสร็จก็ทำการตั้งเสาเอก เมื่อได้ฤกษ์แล้วก็ทุบดินให้เสาแน่น


ได้เวลารวมตัวกัน.....ต่อสายและดึงสายเมน


ผู้เชียวชาญด้านการย้ำสายทั้งสองท่าน


กล้ามเป็นมัดๆ



หลังจากต่อสายเสร็จแล้วก็ทำการเอาสายเมนขึ้นแหล็กลูกถ่วย


พันลวดอะลูมิเนียมเพื่อยึดสายไฟให้ติดกับลูกถ่วย


ยึดสายเมนกับเสา


เป็นการพันลูกถ้วยที่ต้องลูปสาย


ผู้ที่ให้กำลังใจให้กับทีมงานหลังจากทำหน้าที่ของตนเองเสร็จสิ้น




ทำการปลอกฉนวนและตัดสายเมนให้พอดีกับสลิปต่อสาย


ทำการย้ำสลิปเพื่อต่อระหว่างสายเมนนอกบ้านและสายเมนในบ้าน


หลังจากนั้น พันเทปพันละลายให้กับจุดต่อ และพันเทปดำอีกทีเพื่อความคงทนถาวรและทนทาน


ใส่สายเมนเข้ากับมิเตอร์พร้อมใช้งาน


สรุปงาน


ปัญหาที่เจอ
  • งานย้ายสายเมนต้องย้ายต่างจากเดิมที่กำหนดและวางแผนไว้เนื่องจากปัญหาทางเจ้าบ้าน
  • สภาพแวดล้อมในการถอดสายเมนออกจากมิเตอร์เป็นสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความชื้นและหญ้า
  • ต้องมีการเครื่อนย้ายเสาจากหน้าบ้านมาหลังบ้านเสามีขนาดเล็กแต่มีน้ำหนักที่มาก
  • เสาปูนยึดแหล็กมีความเปราะบางเจาะเบาๆก็แตก
  • การใส่สายเมนจะต้องประกอบมิเตอร์ปิดฝาครอบสายเมนใต้มิเตอร์ไม่ได้

การแก้ไขปัญหา

  • เนื่องจากตัดสายแล้วจึงต้องทำตามที่เจ้าบ้านบอกและตั้งหน้าตั้งตาทำให้จนเสร็จ
  • ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการถอดสายและใส่สายกลับเข้ามิเตอร์
  • ใช้เชื่อมัดหัวและท้าย ใช้ไม้สอดเข้ากับเชื่อกและช่วยกันยก..(สามัคคีคือพลัง)Power!!!!!
  • เจาะโดยความระมัดระวังและเบามือ
  • ถอดป้ายรหัสอะลูมิเนียมออกแล้วทำการใส่กลับจนได้
งานวันนี้เสร็จสิ้นไปด้วยดีเนื่องจากพลังของทุก ๆ คนที่ช่วยกันลงแรงและลงใจให้กับงานเสร็จเร็วเกินคาดการ #ทีมงานคุณภาพ #EE-Service
     






บทความล่าสุด

What is C-Bus?        C-Bus คือ ระบบควบคุมการเปิด-ปิด ไฟแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในอาคารสานักงานหรือ โรงงานที่ต้อ...

Followers

 
Support : Copyright © 2011. Bowler Electrician - All Rights Reserved